วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไผ่ที่นิยมปลูกกันแบ่งได้ดังนี้คือ  ไผ่ที่ปลูกเพื่อใช้ลำของไม้ไผ่และไผ่ที่ปลูกเพื่อการบริโภคหน่อโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ไผ่ที่นิยมปลูกเพื่อใช้ลำ   การปลูกไผ่เพื่อใช้ลำ   เกษตรกรต้องการคือปลูกไว้กันลม  รอบๆที่  ไม่ได้หวังหน่อ  ไม้ไผ่ที่เลือกใช้ควรจะลู่ลมไม่ต้านลม  สังเกตุไผ่ที่ลู่ลมคือจะต้องไม่มีกิ่งแขนงยาวเกินไปและไม่มีกิ่งแขนงมากนัก  แต่ก็ยังสามารถตัดไม้ไผ่มาขายหรือใช้สอยในสวนได้   แต่ก็มีเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งที่ปลูกเป็นสวนเพื่อต้องการขายไม้ไผ่  เกษตรกรกลุ่มนี้คือมีที่ดินเหลือจากการปลูกพืชชนิดอื่นๆ    หรือมีที่ดินมาก  ปลูกพืชอื่นก็ต้องดูแลมาก 


          1.1ไผ่รวกดำ   เป็นไผ่ที่ปลูกเพื่อใฃ้ลำกัน  โดยส่วนใหญ่จะปลูกกันอยู่ทางเหนือของไทยมากที่สุด    หน่อรัปประทานได้   แต่ต้องต้มให้หายขมก่อน   พบมากที่ จ.น่าน  จ.พะเยา จ.เชียงราย  มีพ่อค้าจากทางตะวันออกและภาคกลางมาซื้ออยู่ที่ลำละ  10-13  บาทนำไปปักหอยเพราะทนต่อสภาพน้ำเค็มได้ดี   เนื้อไม้แข็งแรงมาก   แต่ไผ่รวกดำก็สามารถปลูกได้ที่พื้นที่ของประเทศไทย    ถ้าเกษตรกรมีปลูกพืชอื่นๆอยู่และต้องการปลูกไผ่เป็นไม้บังลมรอบๆที่ดิน  ก็สามารถใช้ไผ่รวกดำได้   ถ้าปลูกรอบๆที่ดินใช้ระยะปลูกอยู่ที่ระยะระหว่างต้น   2 เมตรปลูกแถวเดียวครับ   ไผรวกดำเป็นไผ่ลู่ลำเพราะกิ่งแขนงและใบน้อย  ไม่ต้านลำ เมื่อปลูกแล้วจะไม่โค่นเมื่อมีลำมาปะทะ     การออกหน่อของไผ่รวกดำจะออกมากในฤดูฝนตกชุก 
          แต่เกษตรกรที่ต้องการปลูกไผ่รวกดำทั้งแปลงจะใช้ระยะอยู่ที่   ระยะระหว่างต้น  2.5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  4  เมตร  พื้นที่  1  ไร่จะใช้ต้นพันธุ์  180  ต้น  การปลูกจะตัดไม้ใช้สอยหรือขายได้ในปีที่  4  หลังจากปลูก  ต่อไปตัดได้ทุกๆปี  โดยเลือกตัดไม้แก่ที่เกิดก่อนออกไปครับ   ไผ่รวกนิยมขยายพันธุ์โดยการขุดแยกเหง้าครับ


          1.2กลุ่มไผ่เลี้ยง  มีไผ่เลี้ยงใหญ่   ไผ่เลี้ยงทางเหนือ  ไผ่เลี้ยงสีทอง    ไผ่เลี้ยงสีทอง(บางที่เรียกไผ่เลี้ยงหวาน,ไผ่เลี้ยง 3 ฤดู ,ไผ่หวาน,ไผ่เลี้ยงทะวาย) เป็นไผ่เลี้ยงที่มีลำต้นสูงไม่เกิน  5  เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลางไม้  1.5-2  นิ้ว  ลำต้นไม่มีรูกลางลำ   ส่วนไผ่เลี้ยงใหญ่และไผ่เลี้ยงทางเหนือความสูงของกอ  12  เมตรขึ้นไป  เส้นผ่าศูนย์กลางลำ  2-2.5  นิ้วการปลูกไผ่เลี้ยง  ถ้าเป็นเป็นไม้กันลมทำได้ดีมาก  เพราะใบและกิ่งเป็นแบบลู่ลม  ไม่ต้านลม  การปลูกหากปลูกแถวเดี่ยวจะใช้ระยะระหว่างต้น  2  เมตรถึง  2.5  เมตร  แต่ถ้าจะปลูกเป็นแปลงใหญ่ให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น  2.5  เมตร ระยะระหว่างแถว  4  เมตร  ใช้ต้นพันธุ์ไร่ละ  180  ต้น  เริ่มเก็บหน่อไว้ทำอาหารหรือขายได้ในปีที่  2  หลังจากปลูก  อาหารที่นิยมใช้ไผ่เลี้ยงทำ  คือต้มทำซุปหน่อไม้  หรือทำหน่อไม้ในถุงพลาสติกเก็บไว้ขายนอกฤดู  เป็นต้น  ส่วนลำ  จะเริ่มตัดขายได้เมื่อปลูกได้  4  ปีไปแล้ว โดยจะตัดลำที่แก่ก่อน  ถ้าเป็นไผ่เลี้ยงใหญ่และไผ่เลี้ยงทางเหนือจะขายลำละ  10-13  บาท  แต่ถ้าเป็นไผ่เลี้ยงสีทอง(ลำสั้นกว่า) จะขายได้ลำละ  1-3  บาท  จะเห็นว่าเกษตรกรปลูกไผ่เป็นแนวรั้วแค่เป็นไม้ใช้สอยก็สามารถมีรายได้จากการขายหน่อและลำได้  ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ทำกินเช่น  20  ไร่ถ้าปลูกไผ่รอบรั้วก็ได้หลายร้อยกอแล้ว  ตัดไม้กอละ  10  ลำต่อกอต่อปี  รวมๆแล้วก็ได้ไม้มากพอที่จะเป็นรายได้ส่วนหนึ่งครับ   ไผ่เลี้ยงทุกชนิด  ขยายพันธุ์ได้ดีคือการขุดเหง้าและรองลงมาคือการตอนกิ่งแขนงข้าง


ไผ่เลี้ยงใหญ่

ไผ่เลี้ยงสีทองหรือไผ่เลี้ยงหวาน

          1.3 ไผ่ซาง  เป็นไผ่ที่นิยมปลูกกันมาก  และพบมากในป่าทางภาคเหนือของประเทศไทย  มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำ   3-8  นิ้ว  ลำสูง  15-25  เมตร   หน่อรับประทานได้ดี  ถ้าหน่อใต้ดินจะมีรสหวาน  แต่ถ้าถูกอากาศหรือเก็บไว้ข้ามวันจะมีรสขมมาก  นิยมนำไปต้มแล้วจิ้มน้ำพริก  หรือทำยำหน่อไม้   ส่วนลำใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ทำไม้ค้างก่อสร้าง  ทำตะเกียบ  ไม้เสียบอาหาร  ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ตั้งแต่ชิ้นเล็กจนชิ้นใหญ่  ส่งออกไปต่างประเทศมากมาย  ทำบ้านไม้ไผ่    เศษซากจากการแปรรูป  ข้อไม้นำไปเผาถ่านหรือทำชีวมวลให้โรงไฟฟ้า  และทำกระดาษ  เป็นต้น   นับว่าอุตสาหกรรมจากไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นจะใช้ไผ่ซางมากที่สุด  พบมีโรงงานแบบใช้แรงงานในครัวเรือนทำตะเกียบและไม้เสียบอาหารมากที่สุดที่  จ.แพร่  จ.ลำปาง  จ.อุตรดิตถ์  จ.พะเยา   และจ.น่าน  ไผ่ซางนิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งแขนงข้าง
          -ไผ่ซางนวล D.  membranaceus  เป็นไผ่ที่พบอยู่ตามป่า หรือเรียกว่าซางป่า  ใบจะมีขนาดเล็กเหมือนไผ่เลี้ยงไผ่รวก  ในป่าพบว่ามีการตายขุยและได้ต้นที่งอกใหม่จากเมล็ด  มีความแปรปรวนหลายลักษณะอยู่ในป่า  ชาวบ้านที่ไปตัดจากป่ามาใช้งานก็จะเลือกตัดเอาแต่ต้นที่ใช้ได้ลำตรง ลำสวย  กอที่ให้ลำไม่ดี  ลำเล็ก ลำไม่ตรงก็จะไม่ได้ตัด  เนื้อไม้จะไม่หนามากนัก  จะต้องปลูกเป็นกลุ่มถึงจะตรง  จะปลูกเป็นไม้ริมรั้วไม่ได้เพราะถ้าปลูกเดี่ยวๆจะไม่ตรง  ต้องอยู่กับไม้อื่นๆถึงจะตรง  หากเกษตรกรจะต้องการปลูกไผ่ซางนวลจะต้องคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดจากป่ามาก่อนแล้วค่อยขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณโดยการตอน  ไม่นิยมนำเมล็ดมาปลูกโดยตรงเพราะจะกลายพันธุ์มาก  หากเกษตรกรจะต้องการปลูกไผ่ซางนวบควรใช้ระยะที่  4  เมตรคูณ  4  เมตร  พื้นที่  1  ไร่จะได้ไผ่  100  กอ
          -ไผ่ซางดำหรือไผ่ซางหวาน  D.strictus   เป็นไผ่ที่ถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ให้ลักษณะที่ดีแล้ว    ใบใหญ่พอๆกับไผ่กิมซุ่ง ต่างจากไผ่ซางป่ามาก   ลำสีเขียวเข้ม  ขนาดลำจะใหญ่กว่าไผ่ซางนวล   ลำตรงเปลา  เนื้อไม้หนากว่าซางนวล  ปลูกกอเดี่ยวๆยังสามารถให้ลำที่ตรงไม้โค้ง  สามารถปลูกเป็นไม้กันลมหรือไม้ริมรั้วได้ดี  เพราะไม่ต้านลม    ถ้าปลูกเป็นไม้ริมรั้วควรปลูกเป็นแถวเดี่ยว  ใช้ระยะระหว่างต้น  3-4  เมตรไปตามแนวรั้ว  และควรห่างจากรั้ว  3-4  เมตรเพื่อจะได้ไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้าน  แต่ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่จะใช้ระยะระหว่างต้น  5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  5  เมตร   พื้นที่  1  ไร่จะปลูกได้  64  กอ(ต้น)  หน่อของไผ่ซางดำจะให้รสชาติที่ดีกว่าไผ่ซางทุกชนิด  นิยมนำมาแกงสดๆเป็นแกงพื้นเมืองหรือแกงเปอะ  ตัดหน่อได้เมื่อปลูกได้     1  ปีขึ้นไป  ส่วนการตัดลำไม้จะตัดได้เมื่อปลูกได้  4  ปีขึ้นไป  ไม้ที่โคนจะหนา  กว่ากลางลำ  ปรกติจะซื้อขายลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง  4  นิ้วขึ้นไปโดยตัดส่วนโคนลำ  2  เมตรขายให้กับโรงงานเฟอรืนิเจอร์  ท่อนละ  120  บาท ส่วนกลางลำตัดขายได้  ตันละ  800  บาทให้โรงงานทำตะเกียบ  ส่วนปลายลำ  ขายให้โรงงานไม้เสียบอาหาร  ต้นละ  1,000  บาท   และเศษซางที่เหลือขายให้โรงงานทำเยื่อกระดาษ  ตันละ  500  บาท   ส่วนใบนำไปทำปุ๋ยดินขุ๋ยไผ่   การขยายพันธุ์ไผ่ซางดำจะใช้วิธีการตอนกิ่งแขนงข้าง
          -ไผ่ซางหม่น  D.  sericeus  ในปัจจุบันเกษตรกรยังสบสนระหว่างไผ่ซางหม่นกับซางนวล   ไผ่ซางหม่นใบจะใหญ่พอๆกับไผ่ซางดำ หรือใบไผ่กิมซุ่ง  แต่ใบไผ่ซางนวลจะใบเล็กกว่ามาก  ใบไผ่ซางนวลจะเท่าๆกับใบของไผ่รวก   และลำก็ต่างไผ่ซางหม่นลำจะมีแป้งมาก  ไผ่ซางนวลแป้งจะน้อยกว่า  ไผ่ซางหม่นพบที่ป่าทางภาคเหนือของไทยมากที่สุด  ในเขตน่าน -แพร่-อุตรดิตถ์  จะพบเป็นไผ่ซางหม่นอีกชนิดหนึ่ง ลำมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  4-6 นิ้ว  แต่ลำจะสูงมาก  และมีผู้ขายพันธุ์ตั้งชื่อการค้าหลายชื่อทำให้เกษตรกรสับสน  ชื่อการค้าที่พบคือ  ไผ่ซางนวลราชีนี  ไผ่ซาง  3  สายพันธุ์  ไผ่ซางหม่นแพร่  สอบถามผู้ที่ทำพันธุ์ไผ่ซางหม่นในจ.อุตรดิตถ์เป็นรายแรกๆ  คุณประดับ  บอกว่านำสายพันธุ์มาจาก  บ้านห้วยม้า  ต.ห้วยม้า  จ.แพร่   ไผ่ซางหม่นลำละตรงเปลาแม้ว่าจะปลูกกอเดี่ยวๆ  เช่นเดียวกับไผ่ซางดำ  เนื้อไม้ไผ่ซางหม่นหนาที่โคนมาก  และทั้งลำยังหนากว่าไผ่ซางทุกสายพันธุ์  เป็นที่ต้องการของผู้ที่จะนำไปแปรรูปไม้ไผ่มาก  เช่นทำบ้านไม้ไผ่และเฟอร์นิเจอร์    ไผ่ซางหม่นสายพันธุ์นี้สามรถปลูกเป็นไม้กันลมได้ดี  เพราะกิ่งและใบไม่ต้านลม  ควรปลูกที่ระยะระหว่างต้นที่  3-4 เมตร  ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่ควรใช้ระยะ ระหว่างต้น  5  เมตร  ระยะระหว่างแถว  6  เมตร จะได้ไม้ยาวและลำใหญ่  นอกจากนี้ยังมีไผ่ซางหม่นสายพันธุ์จาก  อำเภอเชียงดาว   พบว่าเป็นต่างสายพันธุ์จากของแพร่  มีผู้ตั้งชื่อการค้าว่า  พันธุ์สูงเสียดฟ้า หรือเรียกไผ่ซางหม่นยักษ์  ไผ่ซางหม่นสายพันธุ์จากเชียงดาวพบโดยคุณลุงสมจิตร   เป็นไผ่ซางหม่นที่ใบใหญ่เช่นเดียวกัน  แต่ลำมีเส้นผ่าศูนกลาง  4-8  นิ้วจะใหญ่กว่าทางซางหม่นสายพันธุ์แพร่   เนื้อไม้หนามาก  มีความแข็ง  ทนทาน  ข้อถี่กว่าซางหม่นของแพร่   เกษตรกรควรใช้ระยะระหว่างต้นที่  6  เมตร ระยะระหว่างแถวที่  6  เมตร จะทำให้ได้ลำที่ใหญ่  ถ้าต้องการลำเล็กกว่านี้ก็ปลูกถึ่ขึ้นได้  ลำของไผ่ซางหม่นแยกขายเช่นเดียวกับไผ่ซางดำ  มีรายได้รวมต่อลำได้ไม่ต่ำกว่าลำละ  200  บาทเพราะมีน้ำหนักดี  เป็นที่ต้องการของผู้ที่แปรรูปไม้ไผ่เช่นกัน  การขยายพันธุ์ไผ่ซางหม่นนิยมใช้การตอนกิ่งแขนงข้างดีที่สุด  รองลงมาคือชำลำแบบแนวนอน    ไม่ว่าเกษตรกรจะปลูกตามแนวรั้วหรือปลูกเป็นแปลงใหญ่  สามารถเก็บหน่อได้หลังจากปลูกไปได้  1  ปี  และจะตัดขายลำได้เมื่อปลูกไปได้  4  ปี  และจะตัดไม้ได้ตลอดทุกๆปี

          การปลูกไผ่เพื่อขายลำ  จะเหมาะกับเกษตรกรที่มีที่ดินมากๆ  และมีรายได้จากทางอื่น   ไม่เดือดร้อนที่จะต้องรีบเก็บเกียวเพื่อจะให้ได้เงินไวๆ  สามารถปลูกได้หมดทั้งที่ดิน  เพราะการดูแลง่ายไม่ต้องไปห่วงตัดหน่อ  และไม่ต้องห่วงว่าจะได้รายได้เร็ว  การปลูกไผ่เพื่อขายไม้นี้จะต้องปลูกจนไผ่มีอายุได้  4-5  ปีจึงจะตัดไม้ได้ทุกปีโดยเลือกตัดลำที่แก่กว่า   รายได้จากการขายไม้ไผ่โดยที่ไม่ได้แปรรูป  ถ้าเลื่อกปลูกไผ่ซางหม่นหรือไผ่ซางหวานจะมีรายได้จากการขายลำไม้ไร่ละไม่ต่ำกว่า   500  ลำ  ๆละ  100  บาท  จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า  50,000  บาทต่อไร่ต่อปี    แต่ถ้ามีทุนนำไม้ที่ปลูกมาทำบ้านไม้ไผ่ขายออกแบบดีๆ  ป้องกันมอดได้ดี  รายได้จากใช้ประโยขน์จากไม้ไผ่จะมากขึ้น
 ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย  และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน  ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก
ประโยชน์ของไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
- เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
- เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
- เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
 กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด
        ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
 คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก





ประโยชน์จากไม้ไผ่


มะละกอสร้างช่าติ




มะละกอ

       
ส้มตำมะละกอหลากสูตร ไม่ว่าจะเป็นตำไทย ตำไทยปู ตำปลาร้า ตำปูปลาร้า ตำซั่ว หรือแม้แต่ตำโคราชที่รวมเอาทุกอย่างเข้าด้วยกัน ล้วนอร่อยเด็ดแถมยังหามารับประทานได้ง่าย ด้วยเป็นที่ชื่นชอบของคนทุกภาค รวมไปถึงชาวต่างชาติที่มีโอกาสได้ลิ้มรสปาปาย่าสลัดหรือปาปาย่าป๊อก ๆ
        ผลดิบหรือผลห่ามยังนิยมนำไปทำแกงส้มปลาช่อนหรือแกงส้มกุ้งแกงเหลือง  ผัดกับไข่ ทำต้มจืด หรือนำไปดอง  ยางจากผลใช้สำหรับทำให้เนื้อเปื่อยเร็วจะใช้แบบสด ๆ หรือไปซื้อแบบผงที่ขายกันตามท้องตลาดที่เรียกว่าผงเปื่อยก็ได้  ซึ่งยางจากผลมะละกอแก่จะทำให้เนื้อนุ่มกว่าน้ำสับปะรดถึง  20 เท่า ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับใช้หมักเนื้อคือ 12 หยดต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม เพราถ้าหากใช้มากไปจะทำให้เนื้อเกิดรสขมและมีกลิ่นยางมะละกอแถมไปด้วย ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง   โดยในผลสีแดงจะมีปริมาณวิตามินซีมากกว่าพันธุ์สีเหลืองใช้ทำแยม ทำเครื่องดื่มและน้ำหวาน

ลักษณะทั่วไป

   
มะละกอเป็นไม้เนื้ออ่อนฉ่ำน้ำ มียางสีขาว ไม่มีแก่น วงศ์ CARICACEAE สูง 3 – 6 เมตร ใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๆ ออกที่บริเวณยอดลำต้น ดอกตัวผู้และดอกตวเมียอยู่คนละต้น ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อห้อยหัวลงมา ส่วนดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกหรือออกดอกเดี่ยว ผลมีหลายลักษณะตามพันธุ์ที่ปลูก เช่น กลม ยาวรี ทรงกระบอก เมื่อยังอ่อนเปลือกนอกสีเขียว เนื้อในสีขาวแล้วค่อยๆ  เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มหรือแดงเมื่อสุก ภายในมีเมล็ดสีดำมีเยื่อหุ้ม
    มะละกอขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  โดยก่อนเพาะควรล้างและแกะเยื่อหุ้มออกก่อน ชอบดินที่มีระบายน้ำดีไม่ชอบน้ำท่วมขัง  เพราะรากจะเน่าง่ายแต่ต้องการน้ำมากและแสงแดดจัด
คุณค่าทางโภชนาการ
ผลดิบ 100 กรัม
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
ใยอาหาร
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส
(มิลลิกรัม)
เหล็ก
(มิลลิกรัม)
20
4.2
0.6
0.1
2.6
3.0
1.0
0.3
วิตามินบีหนึ่ง
(มิลลิกรัม)
วิตามินบีสอง
(มิลลิกรัม)
ไนอาซิน
(มิลลิกรัม)
วิตามินซี
(มิลลิกรัม)




0.03
0.1
0.2
19.0





ผลสุก 100 กรัม
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
ใยอาหาร
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
ฟอสฟอรัส
(มิลลิกรัม)
เหล็ก
(มิลลิกรัม)
51
11.3
0.8
0.3
1.3
9.46
8.39
0.28
วิตามินบีหนึ่ง
(มิลลิกรัม)
วิตามินบีสอง
(มิลลิกรัม)
ไนอาซิน
(มิลลิกรัม)
วิตามินซี
(มิลลิกรัม)




173.84
0.03
0.3
35






“มะละกอ” ผลไม้ใช้เป็นยา
   
ในผลดิบมีเอนไซม์หรือน้ำย่อยหลายชนิด ที่สำคัญคือปาเปน (papane) มีคุณสมบัติที่ร่างกายผลิตขึ้นสำหรับย่อยอาหารประเภทโปรตีนและอาหารประเภทแป้ง และยังมีเพ็คติน (pectin) หรือกากอาหารสูง  การรับประทานมะละกอดิบจึงมีผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทว่าในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากนัก  เนื่องจากพบว่าในเนื้อมะละกอดิบจะช่วยขับประจำเดือนและทำให้คลอดง่าย  สตรีที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ  หากทานมากไปอาจทำให้แท้งได้
    ยางจากผลดิบใช้ขับพยาธิตัวกลม ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาและหูด
    ผลสุกจะมีสารอาหารและวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนี้ยังมีเพ็คติน (pectin) ที่จะช่วยรักษาอาการท้องผูกและท้องเสียในคราวเดียวกัน สำหรับรักษาอาการท้องเสียสารเมื่อกลิ่นของเพ็คตินจะช่วยให้อุจจาระแข็งตัวแทนที่จะถ่ายเหลวออกมา และสำหรับอาการท้องผูกเพ็คตินจะช่วยเพิ่มกากอาหารดูดซับน้ำในลำไส้แล้วพองตัวกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายออกมาได้ง่าย
ตำรับยาใช้ภายนอก
1. รักษาแผลเรื้อรัง
ส่วนที่ใช้     ผลแก่ดิบ
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอหรือไม่โดยใช้เอาเนื้อมะละกอไปทาที่ซอกหุหรือข้อพับแขน หากมีผื่นขึ้นหรือรู้สึกแสบร้อนไม่ควรใช้ยาขนานนี้
วิธีใช้        นำผลมะละกอลแก่สดไปปอดเปลือกแล้วล้างน้ำให้สะอาด สับให้เป็นเส้นเล็ก ๆ นำไปบดหรือตำให้ละเอียด นำไปพอกบริเวณแผล ปิดทับด้วยผ้า สะอาดเปลี่ยยาวันละ 3 ครั้ง เช้า –กลางวัน – เย็น จนกว่าแผลจะหาย

2. ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาย และหูด
ส่วนที่ใช้     ยางจากผลดิบ
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอ หรือไม
วิธีใช้        ใช้ยางจากผลดิบทาบริเวณตาปลาหรือหัวหูดจนกว่าจะหาย

3. แก้พิษตะขามหรือแมลงป่อง
ส่วนที่ใช้     ผลดิบแก่สด
        ***ก่อนใช้ยาขนานนี้ควรทดสอบผิวก่อนว่าแพ้ยางมะละกอหรือไม่
วิธีใช้        ผ่านเนื้อมะละกอดิบเป็นแผ่นบาง ๆ ให้มียางซึมออกมา แล้วนำไปวางบริเวณที่ถูกต่อย

ตำรับยาใช้ภายใน

1. ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก และท้องเสีย

ส่วนที่ใช้     ผลสุก
        ****หากรับประทานมากประจำติดต่อกันนานจะทำให้เป็นโรคทีนีเนีย (โรคผิวสีเหลือง)  เพรานะมะละกอสุกจะมีสารแคโรทีนอยอยู่ในปริมาณมาก
วิธีใช้        รับประทานผลสุกเมื่อมีอาการ

2. ขับพยาธิเส้นด้ายในเด็ก

ส่วนที่ใช้     ยางและเมล็ด จากมะละกอแก่ดิบ
วิธีใช้        - ใช้ยางจากผลมะละกอดิบ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับไข่ 1 ฟอง ทอดให้เด็กทานให้หมดตอนเช้าขณะท้องว่าง
        -  ใช้น้ำยางสด 1 ช้อนโต๊ะ  น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำร้อน 3 – 4 ช้อนโต๊ะ ให้รับประทานครั้งเดียวหมด สำหรับเด็กอายุมากกว่า 10 ขวบ ในเด็กอายุระหว่าง 7 – 10 ขวบ  ให้ลดย่างมะละกอเหลือครึ่งหนึ่ง  หลังจากทานยานี้  2  ชั่วโมงให้ทานน้ำมันละหุ่ง 2 – 3 ช้อนชา กระตุ้นให้ขับถ่ายออกมา ควรทานยานี้ติดต่อกัน 2 วัน
        - ใช้เมล็ดมะละกอสดหรือ ที่แห้งใหม่ๆ 1 – 1.5 ช้อนกาแฟ คั่วไฟพอให้บดได้ง่าย บดแล้วผสมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมพอหวาน
ทานติดต่อกัน 2 – 3 วัน

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องกล้วย

ถิ่นกำเนิดของกล้วย (First Home)
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก
สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี

ลักษณะทั่วไป
กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่น ใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า รสชาติ รสฝาด

รูปร่างและลักษณะของกล้วยแต่ละชนิดในประเทศไทย
เนื่องจากกล้วยแต่ละชนิดมีรูปร่างและลักษณะเฉพาะตัว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องแจกแจงให้เกิดความเด่นชัดของกล้วยแต่ละชนิดไว้ดังต่อไปนี้ :
  กล้วยสกุล Musa : มีการแตกหน่อและใช้ผลรับประทานได้
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Callimusa: ที่พบในประเทศไทยขณะนี้มีชนิดเดียว คือ
กล้วยป่าชนิด Musa gracilis Horltt. ชื่ออื่นๆ กล้วยทหารพราน หรือกล้วยเลือด
กล้วยชนิดนี้ มีลำต้นเทียมสูง 0.6 – 2 เมตร โคนต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร กาบและใบมีปื้นสีม่วงเข้ม ใบกว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 90-150 เซนติเมตร สีเขียว มีนวล ก้านใบยาว 30-70 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งยาว 60 เซนติเมตรหรือกว่านั้น ก้านช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกตัวเมียสีขาวหม่น ปลายสีเขียว ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เรียวชิดกัน 3-8 แถว แถวหนึ่ง มี 2-4 ดอก ใบประดับกว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เวนติเมตร สีม่วงปลายสีเขียว อาจร่วงหลุดไปก่อนบ้าง ดอกตัวผู้สีเหลือง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลตรง สีเขียว มีนวลและมีทางสีม่วงตามยาวของผล ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม 2-3 เหลี่ยม ปลายทู่ ก้านผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีขนประปราย แก่แล้วผิวเกลี้ยง
กล้วยป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ ในท้องที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย ชาวมลายูเรียกว่าปีชังกะแต ปีชังเวก และปีชังโอนิก
 
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Eumusa: ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ
กล้วยป่า ( Musa acuminata Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยแข้ ( เหนือ ). กล้วยเถื่อน ( ใต้ ). กล้วยลิง ( อุตรดิตถ์ ). กล้วยหม่น ( เชียงใหม่ )
กล้วยป่า มี ลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง ก้านใบสีชมพูอมแดงมีจุดดำ มีครีบเส้นกลางใบสีเขียว ใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ มาก ใบประดับรูปค่อนข้างยาว ปลายแหลมด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อใบกางตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลัง และม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับช่อดอกไม่ค่อยช้อนมาก และจะมีลักษณะนูนขึ้นที่โคนของใบประดับ เห็นเป็นสันชัดเจนเมื่อใบประดับหลุดออก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลมีก้านและมีขนาดเล็ก รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่ชนิดย่อย (Subspecies) บางชนิดมีผลโค้งงอ บางชนิดไม่โค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา และแข็ง
กล้วยป่าที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย (Subspecies) คือ
•  Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. burmanisa Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl.) Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. microcarpa (Becc.) Simmonds
กล้วยเหล่านี้พบว่าขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดิบ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย กล้วยชนิดนี้ นอกจากขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อแล้ว ยังใช้เมล็ดปลูกได้ ผลของกล้วยป่าเมื่อสุกกินได้ แต่ไม่นิยมเพราะมีเมล็ดมาก ผลอ่อนและหัวปลีรับประทานได้
กล้วยตานี ( Musa balbisiana Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยงู ( พิจิตร ): กล้วยชะนีใน . กล้วยตานีใน . กล้วยป่า . กล้วยเมล็ด ( สุรินทร์ ): กล้วยพองลา ( ใต้ )
กล้วยตานี ลำต้นเทียมสูง 3.5-4 เมตร เว้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร สีเขียว ไม่มีปื้นดำ กาบลำต้นด้านในสีเขียว ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวไม่มีร่อง ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ใบประดับรูปค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางขึ้นตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วนงอ ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10-14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่ มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน ลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกแต่ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลเมื่อสุกผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดใหญ่สีดำ ผนังหนา แข็ง
กล้วยตานีที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิด แตกต่างที่ลำต้นเทียมและผล กล่าวคือกล้วยตานีพบทางภาคเหนือนั้น ลำต้นเทียมเกลี้ยงไม่มีปื้นดำเลย ผลจะสั้น ป้อม ส่วนตานีอีสานจะมีลำต้นเทียมที่มีประดำเล็กน้อย ผลคล้ายกล้วยน้ำว้า แต่ตานีทางภาคใต้ ลำต้นเทียมค่อนข้างจะมีปื้นดำหนา ผลคล้ายตานีเหนือแต่นาวกว่า และมีสีเขียวเป็นเงา นอกจากนี้ยังได้มีการนำตานีดำมาจากฟิลิปปินส์ แต่ตานีดำนี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอินโดนีเซีย ลำต้นเทียมสีม่วงดำและเส้นกลางใบสีม่วงดำสี
เข้มมากจนดูเหมือนสีดำ ผลสีเขียวเข้มเป็นมันมีลักษณะคล้ายตานีใต้ มีเมล็ดมาก
 
กล้วยหก ( Musa itinerans Cheeseman) , กล้วยแดง ชื่ออื่น ๆ กล้วยอ่างขาง
กล้วยหกเป็นกล้วยป่าอีกชนิดหนึ่งใน section Eumusa ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลืองมีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเหลืองอ่อน ก้านในสีเขียวอมเหลืองและมีประเล็กน้อยมีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม ไม่มีนวล ด้านล่างสีครีม แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึกและมีสันตื้นเมื่อใบประกอบหลุด เครือหนึ่งมี 5-7 หวี หวีหนึ่งมี 9-13 ผล ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว ก้านผลยาวเกือบเท่าความยาวของผล เนื้อสีเหลืองและมีเมล็ด
กล้วยหกมีผลสีเขียวผลเล็ก ส่วนกล้วยแดงมีผลใหญ่กว่านิดหน่อยและเปลือกสีแดงพบมากในทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก และที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ปลีรับประทานได้
 
สำหรับกล้วยกินได้ มีดังนี้
กล้วยไข่ ‘Kluai Khai' ชื่ออื่น ๆ กล้วยกระ ชื่อสามัญ Pisang Mas
กล้วยไข่มีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็กน้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีมอมส้ม รสหวาน
กล้วยไข่ปลูกกันมากเป็นการค้าที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ เพชรบุรี และปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้านในทุกภาคของประเทศไทย เพราะเป็นกล้วยที่รสชาติดี และใช้ในเทศกาลสารทไทย ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี ปัจจุบันกล้วยไข่เป็นสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่นและฮ่องกง

กล้วยไข่ทองร่วง ‘Kluai Khai Thoung Roung']
มีความสูงไม่เกิน 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำปานกลาง พื้นด้านในมีสีแดงเรื่อ ๆ ปน ก้านใบเปิด มีสีแดงปนค่อนข้างชัดเจน
พู่ ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม ใบประดับม้วนขึ้น ด้านนอกสีม่วงแดง มีนวลปานกลาง ด้านในซีดเล็กน้อย กลีบรวมเดี่ยวใสและมีรอยย่น ส่วนกลีบรวมใหญ่สีครีม ปลายสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เมื่อสุกมีผิวสีเหลือง ก้านช่อดอกมีขน เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมีมากกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล น้ำหนักผลหนักประมาณ 87 กรัม มีรสหวาน เมื่อสุกเต็มที่ผลมักร่วง
 
กล้วยเล็บมือนาง ‘Kluai Leb Mu Nang' ชื่ออื่น ๆ กล้วยข้าว . กล้วยเล็บมือ ( สุราษฎร์ธานี ): กล้วยทองดอกหมาก ( พัทลุง ) กล้วยหมาก ( นครศรีธรรมราช )
กล้วยเล็บมือนางมีลำต้นสูงเทียมไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านในสีชมพูอมแดง ใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาว ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด ดอกตัวผู้หลุดร่วงไปหลังจากใบประดับร่วง ดอกตัวผู้มีสีครีม ดอกตัวเมียสีชมพูอ่อน ปลายสีเหลือง ก้านเกสรตัวเมียตรง เกสรตัวผู้มีความยาวกว่าเกสรตัวเมีย กลีบรวมใหญ่มีสีเหลืองอ่อน ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ปลายหยัก เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอม เนื้อในสีเหลือง รสหวาน
กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร ปัจจุบันปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้าน เพราะเป็นกล้วยที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่ง
กล้วยหอมจันทร์ ‘Kluai Homchan'
กล้วยหอมจันทร์มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครื่องหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 9-11 เซนติเมตร รูปคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นเมื่อเทียบกับขนาดของผล ก้านผลสั้น เปลือกหนากว่ากล้วยเล็บมือนาง เมื่อสุกมีสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอมเย็น เนื้อสีเหลือง รสหวาน
กล้วยหอมจันทร์ปลูกทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่ปลูกในสวนหลังบ้าน และปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้
 
กล้วยไล ‘Kluai Lai'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำปานกลาง มีไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพูปน ก้านใบเปิดกว้างมีปีกเล็กน้อยและมีสีเขียว ปนชมพู เส้นก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขน เครืออกชี้ทางด้านข้าง ส่วนปลีห้อยลง ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีสีม่วงเข้ม ไม่มีไข ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดเล็ก ผลเมื่อสุกมีสีส้มอมเหลือง รสหวาน
 
กล้วยสา ‘Kluai Sa'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดดำประน้ำตาลเข้มมากและมีนวลปานกลาง ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีนวลมากมีสีม่วงแดงเข้ม ทั้งด้านล่างและขอบใบ ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับมีรูปไข่ รูปร่างยาวปลายแหลม เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีมากกว่า 8 หวี หวีหนึ่งมี 18-22 ผล ผลมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ผลหนึ่งหนัก 80-90 กรัม
 
กล้วยทองขี้แมง ‘Thong Khi Meew'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.0 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดประสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก และมีนวลมาก ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีสีเขียวมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ใบประดับมีสีแดงเทาไม่มีไข กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ดอกตัวผู้และตัวเมียมี ใบประดับมีรูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม ด้านในสีซีด ดอกตัวเมียมีความสูงมากกว่าดอกตัวผู้ เครือกล้วยชี้ไปทางด้านข้างรวมทั้งปลี เครือหนึ่งมี 7 หวี หวี หนึ่งมี 10-16 ผล ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเมล็ด
 
กล้วยทองกาบดำ ‘Kluai Thong Kab Dam'
ลำต้นเทียมมีความสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 เซนติเมตร มีประดำปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกและมีสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย เครือออกทางด้านข้างขนานกับพื้นดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านเครือมีขน ปลีมีรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีไขปานกลาง สีม่วงเข้ม ปลีม้วนขึ้น เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมีผลไม่เกิน 16 ผล ผลสุกสีเหลืองอมส้ม ผลมีขนาดไม่ใหญ่
 
กล้วยน้ำไท ‘Klaui Nam Thai'
กล้วยน้ำไทมีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำหนา ที่โคนมีสีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีกสีชมพู เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง ด้านล่างสีซีด เครือหนึ่งมีประมาณ 5 หวี หวีหนึ่งมี 12-18 ผล ผลคล้ายกล้วยหอมจันทร์ ขนาดใกล้เคียงกัน กว้าง 2 –2.05 เซนติเมตร ยาว 10-11 เซนติเมตร ผลไม่งอโค้งเท่ากล้วยหอมจันทร์ มีหัวจุกใหญ่แต่เล็กกว่าหอมจันทร์ ที่ปลายจุกมักมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ เปลือกหนากว่าหอมจันทร์ มีกลิ่นหอมเย็น เมื่อสุกสีเหลืองเข้มกว่ากล้วยหอมจันทร์และมีจุดดำเล็ก ๆ คล้ายจุดของกล้วยไข่ กลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน

กล้วยน้ำนม ‘Klaui Nam Nom'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านในสีเขียว มีไขมาก ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพูเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกขนานกับพื้นดินส่วนปลีห้อยลง ก้านเครือมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว สีแดงอ่อน ปลายแหลม มีไขปานกลาง ใบประดับม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี ประมาณ 10 ผล
 
กล้วยหอมสั้น ‘Kluai Hom Son'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำและไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกทางด้านข้างขนานกับดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม สีม่วงเข้ม ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีขนาดใกล้
กล้วยกวน
เครื่องปรุง
กล้วยหอมสุกงอม 1 หวี
น้ำตาลปึก 3 คู่
กะทิคั้น ข้น 2 ถ้วย
วิธีทำ
• กล้วยปอกเปลือกบดละเอียด หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกันกะทิข้น ๆ และน้ำตาลปึก
• ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ กวนจนเหนียวดี รู้สึกว่าร่อนไม่ติดกะทะก็ยกลง พอจวนจะเย็นก็ปั้นเป็นก้อน ๆ ห่อกระดาษแก้ว หรือใส่ถาดตัดเป็นชิ้น ๆ


กล้วยตากอบน้ำผึ้ง
เครื่องปรุง
กล้วยน้ำว้าสุกงอม
น้ำตาล
น้ำผึ้ง
น้ำส้ม
วิธีทำ
  เลือกกล้วยน้ำว้าสุกงอม แกะเปลือกออกแช่ในน้ำส้ม 1 ส่วน ผสมน้ำ 4 ส่วน ประมาณ 10 นาที
•  นำกล้วยไปตากแดด 1 วัน
•  วันรุ่งขึ้นนำกล้วยมาคลึงให้นิ่มทั่วกัน แล้วตากแดดต่ออีก 1 วัน
•  แช่น้ำเชื่อมอัตราส่วน น้ำตาล 1 ถ้วยต่อน้ำ 2 ถ้วย 3 ชั่วโมง
•  นำกล้วยไปตากแดดต่อ และคอยกลับ จนออกสีน้ำตาล นำมาทับให้แบน
•  แช่ในน้ำผึ้งบรรจุขวด หรือชุบน้ำผึ้งแล้วตากแดดอีก 1 แดด บรรจุใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงไว้ หรือจะเก็บใส่ขวดโหลไว้รับประทาน


ข้าวเม่าทอด

เครื่องปรุง
ข้าวเม่าดิบ ? กิโลกรัม
แป้งข้าวโพด ? กิโลกรัม
แป้งข้าวจ้าว ? กิโลกรัม
กล้วยไข่ 2 หวี
น้ำตาลปีบและเกลือเล็กน้อย
มะพร้าวขูด ? กิโลกรัม
หางกะทิ 6 ถ้วย
น้ำปูนใส 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย ? ถ้วย

วิธีทำ
• ทำแป้งสำหรับชุบตัวข้าวเม่า เอาแป้งข้าวโพดผสมกับแป้งข้าวเจ้า ค่อย ๆ เติมหางกะทิจนหมด ใส่น้ำปูนใส น้ำตาลทรายและเกลือลงไป คนให้เข้ากัน พักไว้
• ทำเครื่องห่อกล้วย เอามะพร้าวมาคลุกกับข้าวเม่าดิบและน้ำตาลปีบ คลุกให้เข้ากันดี
• กล้วยไข่ปอกเปลือก แล้วเอามาห่อด้วยเครื่องข้าวเม่าบาง ๆ พอติด จึงเอาไปชุบแป้ง ลงทอดในน้ำมันท่วม จนสุกพอเหลือง


เค้กกล้วยน้ำว้า

เครื่องปรุง
มาการีนหรือเนย ? ถ้วย
น้ำตาลทรายป่น 1 ถ้วย
ไข่ไก่ 2 ฟอง
แป้งสาลี 2 ถ้วย
( ร่อน 2 ครั้งก่อนตวง )
ผงฟู ? ช้อนชา
โซดาไบคาร์บอเนต ? ช้อนชา
กล้วยน้ำว้าสุก สับหยาบ ๆ 4 ผล ( 1 ถ้วย )
วานิลา 1 ช้อนชา
นมเปรี้ยว ? ถ้วย
( ใช้นมสด ? ถ้วย ผสมน้ำส้มสายชู ? ช้อนชา )
วิธีทำ
คนเนยพอแยกจากกันไม่เป็นก้อน ใส่น้ำตาลทีละน้อยคนให้น้ำตาลกับเนยหรือมาการีนเป็นครีม ใส่ไข่ทีละฟองคนให้ทั่วและเข้ากัน กล้วยน้ำว้าเมื่อสับแล้วผสมลงในนมเปรี้ยวทันที มิฉะนั้นกล้วยจะดำเพราะถูกกับอากาศ ( กล้วยใช้มีดหั่นเป็นชิ้นหยาบ ๆ ดีกว่าบดเพราะได้กินเค้กกล้วยที่เห็นกล้วยเป็นชิ้น ๆ เล็ก ๆ และกล้วยควรจะเป็นสีชมพู เมื่อเค้กสุกแล้วไม่ควรจะเป็นสีดำ อย่างน้อยควรสีเหมือนกล้วยต้มสุกก็ยังดีกว่าสีดำ ) ใส่แป้งลงในครีมสลับกับกล้วยจนหมดทั้งแป้งและกล้วย ใส่วานิลาคนให้ทั่วใช่กระทงกระดาษวางในถาดหลุม 24 กระทง ตักขนมใส่กระทงครึ่งหนึ่งของกระทง อบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ 25 นาที ขนมจะสุกเหลือง นูนตรงกลางเต็มกระทง เอาขนมออกจากเตา ตักขนมออกจากถาดทั้งกระทง รับประทานขณะที่อุ่น ๆ อร่อยมาก

น้ำพริกกล้วยดิบ
เครื่องปรุง
กล้วยน้ำว้าดิบ 12-15 ผล
กุ้งนางแกะเปลือกเผาพอสุกหั่นเป็นชิ้น 250-280 กรัม
กุ้งแห้งอย่างดีป่น 150-180 กรัม
พริกขี้หนูสวนบุบพอแตกหั่นซอยหยาบ 60-70 กรัม
น้ำตาลปีบ 3-5 ช้อนโต๊ะ

กระเทียมปอกเปลือก 60-80 กรัม
มันกุ้งที่ได้จากหัวกุ้งนำไปนึ่งจนสุก 3-4 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาอย่างดี 6-7 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 6-8 ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุง
• นำกล้วยดิบปอกเปลือกหั่นซอยบาง ๆ แช่น้ำมะขามไม่ให้ดำ พอสะเด็ดน้ำจึงนำไปโขลกเบา ๆ กับกระเทียม พริกขี้หนู ใส่กุ้งแห้งป่น โขลกต่อจนเข้ากัน • แล้วจึงใส่กุ้งเผาหั่นซอย ใช้สากคลึงเบา ๆ พอเนื้อน้ำพริกเข้ากันเนื้อกุ้งเผา จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้รสทั้ง 3 คลอ ๆ กัน เปรี้ยวนำนิดหน่อยได้ • เสร็จแล้วตั้งกะทะใส่น้ำมันพืชพอประมาณ ผัดน้ำพริกจนสุกหอม
• น้ำพริกกล้วยดิบ รับประทานกับผักสดต่าง ๆ เช่น ผักกาดขาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ขมิ้นขาว จะเคียงด้วยไข่ต้มก็เข้ากันดี


เค้กกล้วยหอมช็อกโกแลต
ส่วนผสม
ไข่ไก่ 3 ฟอง
แป้งเค้ก 200 กรัม
ผงโกโก้ ? ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 200 กรัม
เบคกิ้งโซดา ? ช้อนชา
เนยสด 80 กรัม
กล้วยหอมบดละเอียด ? ถ้วยตวง
น้ำเปล่า ? ถ้วยตวง
SP 2 ช้อนชา
ส่วนผสมหน้าเค้ก
ช็อกโกแลตตุ๋นสำเร็จรูป 300 กรัม

วิธีทำ
  ตีไข่ไก่ กล้วยหอม น้ำตาลทรายจนกระทั่งขึ้นฟู
•  ร่อนแงเค้ก เบคกิ้งโวดา ผงโกโก้รวมกัน
•  เติมส่วนผสมของแป้งลงในไข่ที่ตีจนขึ้นฟูแล้ว ผสมให้เข้ากัน เทลงในพิมพ์ที่รองด้วยกระดาษไขประมาณ ? พิมพ์ นำเข้าเตาอบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮด์ นานประมาณ 40-50 นาทีหรือจนกระทั่งสุก แซะออกจากพิมพ์ทิ้งให้เย็น
•  นำช็อกโกแลตไปตุ๋นในน้ำร้อนจนกระทั่งช็อกโกแลตละลาย เติมเนยสด คนให้เข้ากัน นำไปราดบนเค้กที่เย็นสนิทแล้วตกแต่งด้วยกล้วยหอมด้านบนให้สวยงาม


ประโยชน์

ทางด้านอาหาร เป็นไม้ผลนำมาบริโภค ใบนำมาห่อขนม หรือส่วนของลำต้น ใบนำมาทำกระทง ก้านนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ประโยชน์ทางสมุนไพร ยางกล้วยจากใบใช้ห้ามเลือด โดยหยดยางลงบนแผล ใช้กล้วยดิบทั้งลูกบดกับน้ำให้ละเอียด และใส่น้ำตาล รับประทาน แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารไม่ย่อย ผลสุกให้เป็นอาหารเป็นยาระบายที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจาจาระแข็ง หัวปลี แก้โรคลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

กล้วยกับความเชื่อของคนไทย
ความเชื่อเรื่องกล้วยของคนไทยมีอยู่มากมาย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ในหญิงมีครรภ์มักไม่รับประทานกล้วยแฝดเพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่ถ้าบ้านไหนอยากได้ลูกแฝดก็รับประทานกล้วยแฝด
สำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนถ้ารับประทานแกงหัวปลี จะมีน้ำนมมาก ถ้าคิดตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว หัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากนั้นเอง
ต้นกล้วยที่ขาวเนียนสะอาด ไม่มีกาบใบแห้ง มักเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของนางพรายตานี เป็นผีผู้หญิง ที่มีหน้าตาสวยงาม ผิวขาว จะปรากฏตัวตอนกลางคืน โดยยืนอยู่ใต้ต้นกล้วยนั้นๆ
ในด้านยาอายุวัฒนะ หากนำกล้วยแช่น้ำผึ้งปิดไหแล้วใช้ปูนแดงทาก่อนฝาปิด จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้ ทั้งนี้ก็เป็นแนวคิดด้านการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งด้วย
ในงานมงคลมักมีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง ก็มักให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้าบังเกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ส่วนการประหารชีวิตนั้น ก่อนลงมือประหารจะมีการนำใบกล้วยมาปูรองก่อน เพื่อกันเลือดไหลลงไปบนดิน เป็นต้น

ความเชื่อเรื่องกล้วยของชาวต่างชาติ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์แบบย่อของกล้วยว่า Musa กล่าวกันว่า Musa มาจากคำภาษาอาหรับว่า Muz ก็มีรากเดิมมาจากคำสันสกฤตว่า Mocha อีกทอดหนึ่งซึ่งหมายถึงกล้วย
เหมือนกัน อีกกระแสหนึ่งที่ฟังดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบอกว่า Musa เป็นชื่อตั้งตามหมอชาวอาหรับในสมัยโรมัน คือ Antonius Musa ผู้นำกล้วยจากอินเดียมากจากอินเดียมาปลูกในถิ่น
ทางเหนือของอียิปต์ ก่อนหน้าที่ฝรั่งจะเรียกกล้วยว่า Banana อย่างเป็นเอกฉันท์ กล้วยถูกเรียกว่า Plantain ตามคำภาษาสเปนว่า Plantano ซึ่งอาจมีรากมาจากคำลาตินว่า Planta ที่
แปลว่าใบกว้าง (spreading leaf) นอกจากนั้นฝรั่งเศสและอิตาลีเคยเรียกกล้วยว่า "fig" โดยมาจากคำเต็ม ๆ ว่า figue d Adam หรือ fico d Adamo ซึ่งอาจแปลได้ว่า "มะเดื่อของอาดัม" อาดัมนี่คือ (อาดัมกับอีฟในตำนานสร้างโลกของศาสนาคริสต์) ส่วน fig น่าจะหมายถึงใบมะเดื่อที่อาดัมใช้ปิดอวัยวะเพศของตน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีที่ใช้คำนี้อยู่คือ
banana fig
แต่นี่หมายถึงกล้าวยตากโดยเฉพาะส่วนคำ Banana ในปัจจุบันเรียกตามภาษาแอฟริกาตะวันตกซึ่งอาจมีตากจากคำภาษาอาราเบียว่า Banan ซึ่งหมายถึงนิ้วมือ
หรือนิ้วเท้าในสังคมไทย กล้วย ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบแสดงถึงคุณลักษณะทำได้ง่าย เช่นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก หรือเรื่องกล้วยกล้วย แต่ในสังคมตะวันตกยุค
บริโภคนิยม ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบเป็นสัญลักษณ์กามารมณ์ โดยเฉพาะอวัยวะเพศผู้ชายเช่นสโลแกนโฆษณาว่า unzip a banana นอกจากนั้นยังมีที่ใช้ banana ในภาษาพูดอัน
หมายถึงอาการ บ้า หรือ เพี้ยน ฝรั่งเองก็ยังสืบค้นไม่ได้ว่า บ้าจะเกี่ยวข้องกับบานานาได้อย่างไรกล้วยในเอเชียใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งจริยธรรม คุณความดี ความงาม
ความเจริญงอกงามในหมู่ชาวอาหรับถือว่ากล้วยเป็นพันธุ์ไม้แห่งสวรรค์ หรือพันธุ์ไม้แห่งปัญญา ที่รู้แยกแยะความดีกับความเลว ตำนานอินเดียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้ของผู้มีปัญญา โดยเล่าขานถึงฤาษีในดงกล้วย ผู้กินกล้วยเป็นอาหารจนเกิดกำลังและปัญญาเป็นที่อัศจรรย์ หลายประเทศในเอเชียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้สำหรับเซ่นสังเวยผีและเทวดา ตลอดจน
ผู้มีพระคุณของไทยเรา กล้วยเป็นของที่ขาดไม่ได้ใน ตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาคุณ หมอตำแยที่มาทำคลอดให้ กล้วยทั้งหวีเป็นของเซ่นเทวดาและบรรพบุรุษในพิธีเซ่นไหว้อย่างคนจีน
น้ำชาและผลไม้เป็นเครื่องเซ่นพื้นฐานและผลไม้เครื่องเซ่นที่ขาดเสียมิได้ก็คือส้มสีทองและกล้วยทั้งหวี ขนมกล้วยเป็นขนมที่พบได้ประจำในพิธีหมั้นพิธีแต่งงานของชาวไทยสมัยก่อน เพราะกล้วยหมายถึงความเจริญงอกงาม ได้ผลดกดื่นเหมือนกล้วยในแทบทุกชนชาติของเอเชีย ยังมีเหตุผลความเชื่อลึก ๆ ว่ากล้วยเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและการเจริญเติบโต ข้อนี้เป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพระเด็กในสังคมเมืองทั่วโลกในปัจจุบันก็เติบโตโดยอาศัยกล้วยแปรรูป หรือพิวรี (banana puree) มาใช้ผสมเป็นอาหารเด็กจนได้ชื่อว่า "เด็กยุคพิวรีกล้วย" อยู่แล้ว (the pureed-banana generation)